Translate it
คอลัมน์จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพส
ฉบับวันอังคารที่ผ่านมา
.
similar to rotting flesh in a village in Trat's Muang district.
— Jakkrit Waekaryhong
พบต้นไม้กลิ่นเหมือนเนื้อเน่าที่หมู่บ้านในอำเภอเมืองจังหวัดตราด
.
พบต้นไม้กลิ่นเหมือนเนื้อเน่าที่หมู่บ้านในอำเภอเมืองจังหวัดตราด
.
Unusual plant raises a stink in Trat
ต้นไม้ประหลาดส่งกลิ่นหึ่งในหมู่บ้านที่ตราด
.
.
1. Trat - This is a closer look at the plant that gave off a smell similar to rotting flesh in a village in Trat's Muang district.
ตราด - พบต้นไม้กลิ่นเหมือนเนื้อเน่าที่หมู่บ้านในอำเภอเมืองจังหวัดตราด
.
2. An unusual plant raised a stink in a village here when it bloomed, giving off an awful odor similar to rotting flesh. The plant, which could not be identified by locals, was found in the garden of a house belonging to Srinual Sai-oy in Trat's Muang district.
2. An unusual plant raised a stink in a village here when it bloomed, giving off an awful odor similar to rotting flesh. The plant, which could not be identified by locals, was found in the garden of a house belonging to Srinual Sai-oy in Trat's Muang district.
ต้นไม้ประหลาดต้นหนึ่ง ออกดอกบานส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทั้งหมู่บ้านกลิ่นหึ่งเหมือนเนื้อเน่า ต้นไม้ที่ชาวบ้านไม่รู้จักนี้ พบขึ้นอยู่ในสวนที่บ้านของนางศรีนวล สายอ้อยในอำเภอเมืองจังหวัดตราด
.
.
3. Reports said the variegated flower, measuring about 45cm in diameter, had since wilted, though its foul smell lingered and it was attracting flies.
มีรายงานว่าดอกไม้ดังกล่าวมีหลายสีในดอกเดียว มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 45 ซมแม้ตอนนี้จะเฉาแล้ว ก็ยังเหม็นอยู่ดึงดูดแมลงวันมาตอม
.
.
4. The plant has a bud which remains dormant and it is expected to develop into a flower soon.
ต้นไม้นี้มีตุ่มดอกอยู่ตุ่มหนึ่งคาดว่าจะแตกเป็นดอกในไม่ช้า
.
.
5. Mrs Srinual said she became aware of the plant on Saturday night when she caught a whiff of a dreadful smell around her home.
นางศรีนวลกล่าวว่า ทราบว่ามีต้นไม้ประหลาดนี้เมื่อคืนวันเสาร์เพราะได้กลิ่นเหม็นแรงโชยมาจากบริเวณรอบๆ บ้าน
.
.
6. When she saw the plant, its multi-colored flower was in full bloom.
เมื่อไปพบเข้า ดอกที่มีหลากสีกำลังบานเต็มที่
.
คำอธิบาย
ย่อหน้าที่ 1 คำศัพท์ที่น่าสนใจกันนะครับ
ย่อหน้าที่ 1 คำศัพท์ที่น่าสนใจกันนะครับ
a close look at (phr.) พินิจ...ฯลฯ แต่ผมเลือกแปลว่า "พบ..."
Smell (n.) กลิ่น อาจจะหอมหรือเหม็นก็ได้
To give off an odour or a smell... ส่งกลิ่น
ส่วนวลี rotting flesh (เนื้อที่กำลังเน่า) หรือ rotten flesh (เนื้อที่เน่าแล้ว) สรุปว่ากลิ่นเนื้อเน่า
Muang ที่จริงหลักของราชบัณฑิตยสถานกำหนดใหม่แล้วให้ถอดเสียง "เอือ" ว่า -uea จึงน่าสะกดว่า Mueang ส่วน Muang จะตรงกับ ม่วง
Muang ที่จริงหลักของราชบัณฑิตยสถานกำหนดใหม่แล้วให้ถอดเสียง "เอือ" ว่า -uea จึงน่าสะกดว่า Mueang ส่วน Muang จะตรงกับ ม่วง
.
ย่อหน้าที่ 2 มาดูคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ"ส่งกลิ่น"กันนะครับ
ย่อหน้าที่ 2 มาดูคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ"ส่งกลิ่น"กันนะครับ
To raise a stink ใช้เหมือนกับ to stink หรือ to reek หมายถึง ส่งกลิ่นเหม็น
คำว่า stink (n.) แปลว่า foul smell - กลิ่นเหม็น ถ้าเป็นคำกริยาแปลว่า มีกลิ่นเหม็น ส่งกลิ่นเหม็น ใช้เป็นสำนวนภาษาปากหมายความว่า น่ารังเกียจ แย่มาก เช่น This job stinks ! งานนี้ห่วยแตก และสำนวน stink of หมายถึง ส่อ (ว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากล) Wirat's action stinks of dishonesty หรือ Wirat's action reeks of dishonesty. - การกระทำของวิรัชส่อว่าไม่ซื่อ
คำคุณศัพท์ stinking แปลว่า ที่มีกลิ่นเหม็น ที่น่ารังเกียจ ยังมักใช้เป็นคำวิเศษณ์ในสำนวนภาษาปากหมายถึง "อย่างยิ่ง" เช่น Bill Gates is stinking rich. - นายบิล เกตส์รวยอื้อซ่า รวยเหลือรับประทาน
คำว่า odour (n.) กลิ่นอันจำเพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น body odour กลิ่นกาย เป็นต้นเป็นคำกลางๆ อาจหอมหรือเหม็นก็ได้ ถ้าหมายถึงกลิ่นเหม็นก็ขยายความด้วยคำคุณศัพท์ เช่น awful odour, foul odour, dreadful odour
"An unusual plant raised a stink in a village here when it bloomed, giving off an awful odour like rotting flesh." หากแปลตามพยัญชนะจะเป็นภาษาไทยที่เยิ่นเย้อ แต่ภาษาไทยเป็นภาษาพึ่งบริบท มีขนบต่างจากภาษาอังกฤษ เพียงพูดว่า ส่งกลิ่นหึ่งไปทั่วหมู่บ้าน ก็พอแล้ว อ่านไปจนจบความก็จะรู้บริบทว่าหมายถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง
ภาษาไทยไม่นิยมระบุพจน์ นอกจากมีความหมายสำคัญ เช่นในกรณีนี้เน้นว่ามีเพียงต้นเดียว ในขณะที่ภาษาอังกฤษถือว่าการระบุพจน์เป็นกฎปกติของภาษา อย่างไรก็ดี หากเราต้องแปลประโยคนี้เพื่อการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ก็พึงระบุพจน์ให้ครูทราบว่า เรารู้ว่าคำนั้นเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ครับ
"ส่งกลิ่นเหม็น...เมื่อดอกบาน" วิธีบอกเนื้อความนี้แบบไทยๆ ก็คือ "ดอกบานส่งกลิ่นเหม็น" ระบุว่ากลิ่นมาจากดอกที่บาน
คำว่า odour (n.) กลิ่นอันจำเพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น body odour กลิ่นกาย เป็นต้นเป็นคำกลางๆ อาจหอมหรือเหม็นก็ได้ ถ้าหมายถึงกลิ่นเหม็นก็ขยายความด้วยคำคุณศัพท์ เช่น awful odour, foul odour, dreadful odour
"An unusual plant raised a stink in a village here when it bloomed, giving off an awful odour like rotting flesh." หากแปลตามพยัญชนะจะเป็นภาษาไทยที่เยิ่นเย้อ แต่ภาษาไทยเป็นภาษาพึ่งบริบท มีขนบต่างจากภาษาอังกฤษ เพียงพูดว่า ส่งกลิ่นหึ่งไปทั่วหมู่บ้าน ก็พอแล้ว อ่านไปจนจบความก็จะรู้บริบทว่าหมายถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง
ภาษาไทยไม่นิยมระบุพจน์ นอกจากมีความหมายสำคัญ เช่นในกรณีนี้เน้นว่ามีเพียงต้นเดียว ในขณะที่ภาษาอังกฤษถือว่าการระบุพจน์เป็นกฎปกติของภาษา อย่างไรก็ดี หากเราต้องแปลประโยคนี้เพื่อการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ก็พึงระบุพจน์ให้ครูทราบว่า เรารู้ว่าคำนั้นเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ครับ
"ส่งกลิ่นเหม็น...เมื่อดอกบาน" วิธีบอกเนื้อความนี้แบบไทยๆ ก็คือ "ดอกบานส่งกลิ่นเหม็น" ระบุว่ากลิ่นมาจากดอกที่บาน
.
ย่อหน้าที่ 3
ย่อหน้าที่ 3
variegated ใช้เรียกต้นไม้ที่มีดอกด่างหรือใบด่าง (mottled) คือมีหลายสีเป็นดวงๆ หรือเป็นปื้นๆแต่ในบทความนี้หมายถึงมีหลายสีในดอกเดียวหรือ a multicoloured flower ความที่ภาษาไทยไม่นิยมระบุพจน์คำนาม ดังนั้นหากแปลว่า "ดอกไม้นี้มีหลายสี" อาจทำให้นึกว่า ดอกไม้ (ชนิด) นี้ (หลายดอก) แต่ละดอกมีสีต่างๆ กัน ซึ่งผิดความหมาย
.
ย่อหน้าที่ 4
ย่อหน้าที่ 4
bud (n.) ตา คือส่วน รอยหรือตุ่มของต้นไม้ตรงที่ กิ่ง ดอก ใบ แตกออกมา
dormant (adj) หลับพักตัว ในที่นี้หมายความว่ายังตูมอยู่ แต่คำว่า "ตุ่มดอก" ก็บอกอยู่แล้วว่ายังตูม จึงไม่จำเป็นต้องแปลข้อความว่า "which remains dormant" และต้องเติม "ตุ่มหนึ่ง" เพื่อให้ทราบว่าไม่ได้มีหลายตุ่มดอก
.
ย่อหน้าที่ 5 ถึงตรงนี้ ตัวบทภาษาอังกฤษทำให้ทราบว่าคุณศรีนวลแต่งงานแล้ว ผู้แปลจึงสามารถแปลตั้งแต่ประโยคที่สองข้างต้นบทความได้ว่า นางศรีนวล
ย่อหน้าที่ 5 ถึงตรงนี้ ตัวบทภาษาอังกฤษทำให้ทราบว่าคุณศรีนวลแต่งงานแล้ว ผู้แปลจึงสามารถแปลตั้งแต่ประโยคที่สองข้างต้นบทความได้ว่า นางศรีนวล
ในบทแปลตรงนี้เติมคำว่า "ประหลาด" ลงไปด้วย แต่จะไม่เติมก็ได้ครับเพื่อให้ตรงต้นฉบับ
A whiff (n.) กลิ่นที่โชยมาวูบหนึ่ง
.
ย่อหน้าที่ 6 ประโยคนี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นย่อหน้าใหม่ และไม่ต้องบอกว่า "ใคร" ไปพบ "อะไร ในวลี "เมื่อไปพบเข้า" เพราะรู้ได้จากบริบทอยู่แล้ว แต่ถ้าขึ้นย่อหน้าใหม่ ซึ่งหมายถึงการเริ่มหัวข้อใหม่ ก็อาจจะต้องแปลว่า"เมื่อนางศรีนวลไปพบต้นไม้นี้เข้า" เพื่อป้องกันความสับสน
ย่อหน้าที่ 6 ประโยคนี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นย่อหน้าใหม่ และไม่ต้องบอกว่า "ใคร" ไปพบ "อะไร ในวลี "เมื่อไปพบเข้า" เพราะรู้ได้จากบริบทอยู่แล้ว แต่ถ้าขึ้นย่อหน้าใหม่ ซึ่งหมายถึงการเริ่มหัวข้อใหม่ ก็อาจจะต้องแปลว่า"เมื่อนางศรีนวลไปพบต้นไม้นี้เข้า" เพื่อป้องกันความสับสน
0 Comments:
Post a Comment
<< Home